ตารางอบรม ประจำปี 2566
กันยายน 2566
  ไม่มีการอบรม
   
   

ตุลาคม 2566
  ไม่มีการอบรม
   

พฤศจิกายน 2566
  กำลังจัดทำตาราง
   
   
   

ธันวาคม 2566
  กำลังจัดทำตาราง
   
   

* วันที่อาจเปลี่ยนแปลงได้ โปรดตรวจสอบก่อนลงทะเบียนทุกครั้ง
** กรุณาลงทะเบียนล่วงหน้าก่อน 7 วัน


www.lofty.co.th

   Home
   Products / Prices
   Service  & Classified
   Support
   Training Course
   White Paper
   Contact Us & Map



    Editing Card :

       + EDIUS SP for HDV
       + EDIUS NX for HDV
       + DVStrom XA plus


    Network :

       + MediaEdge2
       + FireNEX 800


    SoundCard Terratec :

       + Aureon 7.1 Space
       + Aureon 7.1 FireWire
       + DMX 6 fire
       + PHASE 88
       + PHASS 88 Rack


    Advance Converter :

       + ADVC 110
       + ADVC 500
       + ADVC 1000
       + ACEDVio


    Portable Multimedia :   

       + iZak


    IEEE 1394 :

       + FireBridge 800
       + QuickStream DV
       + Pyro 2.5" Drive Kit


    Softwares :

       + EDIUS
       + Procoder


    Accessories :

       + EDIUS keyboard
       + Shuttle Pro
       + Shuttle Xpress
       + เครื่องกรอเทป MiniDV



    Demo :

       + Silver
       + Targa 3000
       + Digisuite DTV

 
HDSTORM

ยกระดับการตัดต่อให้เหนือชั้นด้วย HDMI

       หลังจากที่นอนลิเนียร์เข้ามาปฏิวัติการตัดต่อวิดีโอในช่วง 20 ปีมานี้ การเชื่อมต่อสัญญาณ ในงานตัดต่อแทบจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงเลย ส่วนใหญ่ยังคงใช้สายแอนะล็อกแบบเดิมแม้ในทุกวันนี้ ระบบ ดีวี / ไฟร์ไวร์ สร้างความเปลี่ยนแปลงได้ในระดับหนึ่ง แต่ก็จำกัดอยู่ในช่วงของการถ่ายโอนข้อมูล จากเทปลงสู่เครื่องตัดต่อวิดีโอเท่านั้น การนำข้อมูลออกยังเน้นไปที่เทปหรือจอภาพ ที่ยังเป็นแอนะล็อกอยู่ ยิ่งในยุคไร้เทปที่กำลังมีบทบาทอยู่ในขณะนี้ การเชื่อมต่อแบบไฟร์ไวร์ในงานตัดต่อแทบจะหมดอนาคตลง ประกอบกับความตื่นตัวของตลาด A/V คอนซูมเมอร์และคอมพิวเตอร์ในการถ่ายทอด สัญญาณภาพและเสียง ด้วยระบบดิจิทัลทางช่อง DVI/HDMI ทิศทางใหม่ของระบบตัดต่อวิดีโอจึงเกิดขึ้น

    

       แน่นอน เสือปืนไวอย่าง Canopus หรือ Grass Valley ในชื่อใหม่ไม่เคยชักช้า เพื่อรักษาความเป็นผู้นำในการพัฒนาการ์ดตัดต่อวิดีโอในระดับตั้งโต๊ะ และเพื่อทดแทน DVStorm เดิมที่เริ่มหมดอายุลงตามกาลเวลา ครั้งนี้ Grass Valley จึงภูมิใจนำเสนอผลงานระดับเทพ HDStorm การ์ดตัดต่อ “ เรียลไทม์ HDMI เอาต์พุต ” ตัวแรกของโลก

       พูดถึงการ์ดตัดต่อวิดีโอ หลายคนอาจเห็นว่าไม่เห็นจำเป็น ยิ่งในยุคไร้เทป ฟุตเทจจะอยู่ในรูปของหน่วยความจำหรือฮาร์ดดิสก์ การโอนลงเครื่องตัดต่อทำได้ทันทีโดยไม่ต้องแปลงสัญญาณ โปรแกรมตัดต่อก็อาศัยความสามารถของซีพียูเป็นหลัก เมื่อตัดต่อเสร็จก็เขียนออกมาในรูปของดีวีดีหรือบลูเรย์ไปเลย แต่สำหรับมืออาชีพ การ์ดตัดต่อยังคงความจำเป็นอยู่ เพราะเวิร์กโฟลของงานไม่ได้มีเพียงแค่การนำคลิปมาชนต่อกันเท่านั้น แต่ประกอบด้วยงานแวดล้อมอื่น ๆ อีกมากมาย เช่น

  • การแทรกฟุตเทจจากแหล่งเก็บอื่น ถึงแม้ท่านจะอยู่ในยุคไร้เทป แต่จะทำอย่างไร เมื่อฟุตเทจที่จะนำมาประกอบรายการมีบางส่วนที่อยู่บนเทปประเภทต่าง ๆ
  • การตรวจสอบภาพบนจอ มืออาชีพต้องตรวจสอบความถูกต้องของสี ความสว่าง ความอิ่มตัวสี ขนาดและสัดส่วนของวิดีโอบนจอมอนิเตอร์หรือจอโทรทัศน์เท่านั้นเพื่อความถูกต้อง การดูภาพจากจอคอมพิวเตอร์จะผิดเพี้ยนแตกต่างไปจากการดูจากจอมอนิเตอร์มาก
  • การตรวจสอบภาพจากโปรแกรมอื่น ขณะออกแบบกราฟิกส์ รีทัชภาพ หรือทำแอนิเมชัน มืออาชีพต้องการตรวจสอบความสมบูรณ์ของภาพก่อนส่งไปตัดต่อวิดีโอ การ์ดตัดต่อดี ๆ สามารถเอาต์พุตวิดีโอออกไปบนจอมอนิเตอร์ได้ทันที
  • การทำงานแบบเรียลไทม์เอาต์พุต ระบบตัดต่อที่ไม่พึ่งฮาร์ดแวร์จะพรีวิวภาพแบบเรียลไทม์ได้เฉพาะบนจอคอมพิวเตอร์เท่านั้นหากไม่ทำการเรนเดอร์เสียก่อน เรียกว่าเรียลไทม์พรีวิว มืออาชีพต้องการพรีวิวเพื่อตรวจสอบภาพบนจอมอนิเตอร์ทันทีที่วางคลิปและใส่เอฟเฟ็กต์ เรียกว่าเรียลไทม์เอาต์พุต การ์ดตัดต่อที่ทำงานแบบเรียลไทม์เอาต์พุตได้เท่านั้นที่มืออาชีพต้องการ
  • การทำงานกับ MPEG ถึงแม้ท่านจะตัดงานจากเทปดีวีแบบแบบเรียลไทม์ได้ แต่ท่านทราบไหมว่า การบีบอัดแบบ MPEG กำลังมีบทบาทในทุกขั้นตอนของการผลิต ฟุตเทจจาก HDV เป็น MPEG-2 Transport Stream, ฟุตเทจจากกล้อง AVC เป็น MPEG-4 part 10 (H.264) การส่งออกเป็นแผ่นดีวีดี บลูเรย์ หรือการอัปลิงค์ออกอากาศล้วนแต่เป็น MPEG-2 หรือ MPEG-4 ทั้งสิ้น ท่านทราบหรือไม่ว่าวันนี้ไม่มีซีพียูตัวใดที่จะทำงานกับ MPEG ความชัดสูงได้อย่างราบรื่นหากปราศจากฮาร์ดแวร์และเทคโนโลยีในการบีบคลายข้อมูลที่ดี
  • สุดท้าย มืออาชีพต้องรับมือกับอินพุต - เอาต์พุตได้ทุกรูปแบบ ฟอร์แมตไฟล์ทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นแอนะล็อก ดิจิทัล HDV, MPEG, MXF, M2TS ฯลฯ ความเป็นมืออาชีพของท่านจะถูกสั่นคลอนหากไร้ซึ่งการ์ดตัดต่อวิดีโอดี ๆ สักตัวหนึ่ง

แนวคิดของ HDStorm

       จากข้อเท็จจริงที่ว่า โลกของระบบวิดีโอได้เข้าสู่ยุคดิจิทัลโดยสมบูรณ์แล้ว และกำลังข้ามผ่านจากความชัดมาตรฐานไปสู่ยุคความชัดสูง การใช้ระบบ DV ลดลงเป็นลำดับ กอร์ปกับการพัฒนาประสิทธิภาพของซีพียูเป็นไปอย่างรวดเร็ว ความจำเป็นที่จะบรรจุชุดชิปเข้ารหัส / ถอดรหัส DV หรือแม้แต่ช่องไฟร์ไวร์ในการ์ดตัดต่อวิดีโอจึงหมดไป ในทางกลับกัน เทคโนโลยีการบันทึกวิดีโอในรูปไฟล์ข้อมูล กำลังเข้ามามีบทบาท เปิดทางให้สื่อบันทึกแบบถอดเข้าออกได้หรือต่อผ่าน USB ที่สะดวกกว่าเข้ามาแทนที่อย่างรวดเร็ว ที่สำคัญความแพร่หลายของการส่งสัญญาณภาพและเสียงแบบ HDMI ในหมู่ผู้ใช้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในบ้าน ได้สร้างความสมบูรณ์ของภาพและเสียงอย่างไม่เคยมีมาก่อน เงื่อนไขต่าง ๆ เหล่านี้จุดประกายให้ Grass Valley ตัดสินใจพัฒนาผลิตภัณฑ์ HDStorm การ์ดตัดต่อวิดีโอแบบนอนลิเนียร์รุ่นล่าสุดออกมาในทันที

ลักษณะโดยทั่วไป

       HDStorm เป็นการ์ดแบบ PCI Express Rev.1.1 ซึ่งเป็นช่องขยายพื้นฐานที่พบบนเมนบอร์ดทุกรุ่นในปัจจุบัน นั่นหมายถึงการติดตั้งสะดวก ไม่ต้องใช้คอมพิวเตอร์ชนิดพิเศษ บนการ์ดมีช่องเข้า HDMI 1 ช่อง สำหรับจับภาพจากกล้อง เครื่องเล่นบลูเรย์ หรือแหล่งภาพอื่น ๆ ที่มีช่องออก HDMI ทางด้านช่องออก HDMI ก็มีให้ 1 ช่องเช่นกัน สำหรับต่อกับจอภาพการณีต้องการตรวจสอบสัญญาณ หรือส่งไปบันทึกยังอุปกรณ์อื่นที่รับสัญญาณ HDMI ได้ HDMI ทั้งช่องเข้าและออกเป็นเวอร์ชัน 1.1 จึงไม่ต้องห่วงเรื่องอุปกรณ์ต่อพ่วงทั้งหลายว่าจะสนับสนุน HDCP หรือไม่ นอกจากนั้นยังมีช่องเสียงเข้าอีก 1 ช่องเพื่อนำเสียงจากการ์ดเสียงมาวนออกไปพร้อมกับภาพบนช่อง HDMI เดียวกัน

       HDStorm ไม่มีชิปเร่งการทำงานตัดต่อเป็นพิเศษ เพื่อรักษาความเป็นการ์ดที่ ขยายความสามารถได้ตามระบบที่ใช้ ที่เรียกว่า Scalable Technology อันเป็นแนวคิดที่เดิมของ DVStorm ที่ได้รับความสำเร็จอย่างสูง จนปัจจุบันนี้ก็ยังใช้งานได้ดีแม้จะมีอายุผ่านมากว่า 8 ปีแล้วก็ตาม แล้ว HDStorm ทำอย่างไรจึงทำงานกับข้อมูลที่จัดการได้ยากอย่าง MPEG ความชัดสูงได้ ผู้ออกแบบหาทางออกโดยการติดตั้งชิปเข้ารหัสและเรนเดอร์สัญญาณ ให้เป็นข้อมูลบีบอัดแบบ HQ คุณภาพสูงที่จัดการได้ง่าย (422 Intraframe) ลงไปบนตัวการ์ดแทนชิปประมวลผลวิดีโอที่อัปเกรดไม่ได้ เพื่อให้การจับภาพและเรนเดอร์ไม่เป็นภาระของซีพียู ข้อมูลในรูปของ HQ นี้จะมีขนาดใหญ่กว่า MPEG แต่ก็น้อยกว่าแบบ ไม่บีบอัด แต่ยังรักษาคุณภาพได้เหมือนเดิมเมื่อดูด้วยตาเปล่า หรือเกือบเหมือนเดิมเมื่อดูจากข้อมูลจริง แต่สิ่งที่ได้มากกว่าคือ ความสามารถในการทำงานที่เป็นเรียลไทม์เอาต์พุตหลาย ๆ ชั้น หมายถึงคุณสามารถพรีวิว ทำเอฟเฟ็กต์ ซ้อนภาพ แล้วส่งผลลัพธ์ออกมาทางจอมอนิเตอร์ได้ทันที แน่นอนท่านยังใช้ข้อมูลดิจิทัลดั้งเดิมได้หากต้องการ แต่ภาพจากการพรีวิวงานอาจจะไม่ราบเรียบนัก เพราะการทำงานแบบเรียลไทม์เอาต์พุตนั้น กินกำลังของระบบมากโดยเฉพาะคลิป MPEG ความชัดสูง เมื่อผู้ออกแบบไม่ต้องการตัดคุณสมบัตินี้ออกไปจึงต้องเรนเดอร์ไทม์ไลน์ก่อน เพื่อให้การพรีวิวแบบเรียลไทม์เอาต์พุตสำหรับคลิปที่มีปัญหาทำได้อย่างราบเรียบ

      กรณีที่ต้องการเชื่อมต่อแบบแอนะล็อก จะมีกล่องต่อแยกสายเป็นอุปกรณ์เสริม เรียกว่า เบย์ (bay) ขนาดเท่ากับช่องติดตั้งอุปกรณ์มาตรฐานขนาด 5.25” บนพีซีทั่วไป สัญญาณภาพที่ใช้ได้เมื่อใช้เบย์ได้แก่ Composite, S-video, Component ทั้งเข้าและออก ส่วนสัญญาณเสียงเป็นแบบ Unbalanced ทั้งเข้าและออกเช่นเดียวกัน นอกจากนั้นยังมีช่อง HDMI เข้าและออกเพิ่มเติมบนเบย ์เพื่อย้ายการทำงานจากช่องบนการ์ดด้านหลังเครื่องมาสู่ด้านหน้าเพื่อความสะดวกในการทำงาน

      สำหรับท่านที่เห็นหน้าตาของเบย์อาจสงสัยว่าช่อง Composite และ S-Video อยู่ตรงไหน เนื่องจากเบย์มีพื้นที่ด้านหน้าจำกัด เมื่อต้องมาสนับสนุน Component ซึ่งต้องใช้หัวต่อแยกทั้งสามสัญญาณออกจากกัน ผู้ออกแบบจึงให้ใช้ช่องสีเขียวของ Component แทนสัญญาณ Composite และช่องสีน้ำเงินและแดงสำหรับ S-video โดยมีสายแปลงมาให้ในชุดของมัน หมายความว่าท่านไม่สามารถต่อสัญญาณ Component พร้อมกับ Composite และ S-video ได้ ซึ่งก็ไม่ได้เสียหายอะไรเนื่องจากการนำสัญญาณเข้าออกปกติจะทำกับสัญญาณทีละแบบเท่านั้น

      เพื่อความประหยัด Grass Valley ได้เข้าชุดการ์ด HDStorm กับเบย์ แล้วเรียกชื่อเสียใหม่ว่า HDStorm Plus

      ทั้ง HDStorm กับ HDStorm Plus มาพร้อมกับโปรแกรมตัดต่อวิดีโอ EDIUS 5 เป็นมาตรฐาน ดังนั้นความสามารถต่าง ๆ ของ HDStorm นอกจากส่วนของตัวการ์ด และเบย์ แล้ว ยังขึ้นอยู่กับความสามารถของโปรแกรม EDIUS 5 ด้วย ( อ่าน มีอะไรใหม่ใน EDIUS 5 ในฉบับ )

ความสามารถ

      ผู้ที่ตัดสินใจเลือก HDStorm วันนี้ ค่อนข้างสบายใจได้ว่าไม่มีผิดหวัง เนื่องจาก HDStorm เมื่อผนวกกับเบย์แล้วสามารถรับมือกับสัญญาญแอนะล็อกได้ทุกประเภท รวมทั้งแอนะล็อกความชัดสูงทาง Component อีกด้วยซึ่งไม่พบในการ์ดตัดต่อราคาปานกลางทั่วไป การจับภาพแอนะล็อกความชัดสูงปกติจะใช้กับกล้อง เทป หรือ กล่องเซ็ตท็อปที่ยังไม่มีช่องออก HDMI แต่สำหรับผู้ที่อยู่ในโลกของ HDMI อยู่แล้วก็ไม่ต้องห่วงเพราะท่านจะได้รับความสมบูรณ์ของทั้งภาพและเสียงผ่านทาง HDMI อย่างเต็มที่อยู่แล้ว สิ่งที่ HDStorm ขาดไปอย่างเดียวก็คือช่องต่อ SDI หรือ HD-SDI เนื่องจากเป็นสินค้าราคาคนละระดับกัน

      ความละเอียดของภาพที่ HDStorm จะรับเข้ามาประมวลผลได้เริมตั้งแต่ระบบ NTSC และ PAL ตามปกติ ไปจนถึง 1920 x 1080 ทั้งแบบสอดประสานและแบบก้าวหน้า รูปแบบของข้อมูลใช้ได้ทั้ง DV, HDV, ADVC-HD รวมทั้งรูปแบบไฟล์ใหม่ ๆ อย่างเช่น Infinity JPEG2000, XDCAM, XDCAM EX, P2 (DVCPro และ AVC-Intra) รวมทั้ง GFCam อีกด้วย

EDIUS 5 ซอฟต์แวร์คู่บารมีของ HDSTORM

      เมื่อประกอบกับความสามารถของซอฟต์แวร์ EDIUS 5 ที่มีมาให้พร้อมกัน ทำให้ชุด HDStorm มีความสามารถหลักดังต่อไปนี้

  • มีช่องเข้าและออกแบบ HDMI อย่างละ 1 ช่อง สำหรับเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ HDMI และใช้ตรวจสอบผลการทำงานจากโปรแกรมตัดต่อวิดีโอและโปรแกรมกราฟิกที่สำคัญ
  • ทำงานกับข้อมูลบีบอัดแบบดิจิทัลของเดิมได้หลายรูปแบบ เช่น DV, HDV, AVCHD, รวมทั้งแบบไม่บีบอัด และรูปแบบอื่น ๆ อีกจำนวนมาก
  • ทำงานและให้เอาต์พุตวิดีโอในระดับความชัดมาตรฐานและความชัดสูง พร้อมการแปลงอัตราส่วนกรอบภาพและอัตราการแสดงภาพ บนจอมอนิเตอร์ได้ทันทีแบบเรียลไทม์
  • สร้างเอฟเฟกต์ เจาะซ้อนภาพ ทำทรานซิชัน และใส่ไทเทิล ทั้งในระดับความชัดมาตรฐานและความชัดสูงได้ทันทีแบบเรียลไทม์
  • สนับสนุนรูปแบบวิดีโอในรูปแฟ้มข้อมูลต่าง ๆ ต่อไปนี้ Infinity JPEG 2000, XDCAM, XDCAM EX, P2 (DVCPRO และ ACV-Intra) และ GFCAM
  • มีฮาร์ดแวร์เข้ารหัส Canopus HQ บนตัวการ์ดเพื่อให้การจับและส่งออกภาพไปเป็นแฟ้ม Canopus HQ AVI คุณภาพสูงทำได้อย่างรวดเร็ว
  • มีกล่องต่อแยกสายเป็นอุปกรณ์เสริม ( เป็นอุปกรณ์มาตรฐานในรุ่น HDSTORM Plus) สำหรับติดตั้งในช่องอุปกรณ์ 5.25” มาตรฐานบนพีซี เพื่อให้ใช้สัญญาณเข้าและออกแบบแอนะล็อก Composite, S-Video, และ Component ในระดับความชัดมาตรฐานและความชัดสูงได้
  • สามารถใช้งานได้กับระบบปฏิบัติการ Windows XP และ Windows Vista

ความต้องการของระบบ

      ถึงแม้ว่า HDSTORM สามารถตัดต่อวิดีโอได้ทั้งในแบบความชัดมาตรฐานและความชัดสูง อย่างไรก็ตามสำหรับการทำงานในระดับความชัดสูงให้ได้แบบเวลาจริงนั้นความต้องการของระบบจะต้องสูงขึ้นมากกว่าระดับความชัดมาตรฐาน ความต้องการระบบต่อไปนี้สำหรับงานตัดต่อวิดีโอระดับความชัดสูงเป็นหลัก

  • ซีพียู Intel หรือ AMD ความเร็ว 3 GHz หรือดีกว่า ( แนะนำให้ใช้แบบซีพียูหลายตัว และ / หรือ แบบหลายแกน ที่สนับสนุนชุดคำสั่ง SSE2 และ SSE3 )
  • หน่วยความจำหลัก 1 GB ( แนะนำให้ติดตั้ง 2 GB หรือมากกว่า )
  • มีช่องขยายว่างที่เป็น PCI Express x1 อย่างน้อย 1 ช่อง
  • พื้นที่ว่างบนฮาร์ดดิสก์ไม่น้อยกว่า 800 MB
  • ตัวขับ DVD-ROM สำหรับติดตั้งซอฟต์แวร์
  • ฮาร์ดดิสก์แบบ ATA100/7200 rpm หรือเร็วกว่า สามารถถ่ายโอนข้อมูลแบบต่อเนื่องได้ไม่น้อยกว่า 20 MB/sec กรณีใช้วิดีโอความชัดสูงหลายสายธารพร้อมกันจำเป็นต้องต่อฮาร์ดดิสก์แบบ RAID ตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไป
  • การ์ดแสดงผลกราฟฟิกที่มีหน่วยความจำอย่างน้อย 256 MB ( แนะนำให้ใช้ 512 MB) ที่สนับสนุน PixelShader Model 3.0 หรือใหม่กว่า ( เช่น DX9-based)
  • มีช่องติดตั้งขนาด 5.25” มาตรฐาน 1 ช่อง กรณีใช้กล่องต่อแยกสาย หรือใช้รุ่น HDSTORM Plus
  • ระบบปฏิบัติการ Windows? XP Home หรือ Windows? XP Professional (32-bit, Service Pack 2 หรือใหม่กว่า ), หรือ Windows Vista (32-bit?, Service Pack 1 หรือใหม่กว่า )
  • มีช่อง USB (1.1 หรือใหม่กว่า) ว่าง 1 ช่อง สำหรับติดตั้งดองเกิลของซอฟต์แวร์
  • มีการ์ดเสียงบนเมนบอร์ดหรือติดตั้งเพิ่มเติม

รายละเอียดทางเทคนิค

Video Input

  • 1 x HDMI? Connector (HDCP not supported)
  • 1 x component, S-Video and composite combined (RCA Y, Pb, Pr)
Video Output
  • 1 x HDMI Connector (HDCP not supported)
  • 1 x component, S-Video and composite combined (RCA Y, Pb, Pr)
Audio Input
  • 1 x HDMI (LPCM 8-channel)
  • 1 x stereo (RCA, unbalanced)
Audio Output
  • 1 x HDMI (LPCM 8-channel)
  • 1 x stereo (RCA, unbalanced)
Analog Video Input and Output Formats
Component Video
  • 1920 x 1080/59.94i (SMPTE274M)
  • 1920 x 1080/50i (SMPTE274M)
  • 1280 x 720/59.94p (SMPTE296M)
  • 1280 x 720/50p (SMPTE296M)
  • 720 x 480/59.94p (SMPTE294M)
  • 720 x 576/50p (SMPTE294M)
  • 720 x 486/59.94i (SMPTE259M-C)
  • 720 x 576/50i (SMPTE259M-C)
S-Video (via included connector cable)
  • 720 x 480/59.94p (SMPTE294M)
  • 720 x 576/50p (SMPTE294M)
  • 720 x 486/59.94i (SMPTE259M-C)
  • 720 x 576/50i (SMPTE259M-C)
Composite Video (via Component Video Y terminal)
  • 720 x 480/59.94p (SMPTE294M)
  • 720 x 576/50p (SMPTE294M)
  • 720 x 486/59.94i (SMPTE259M-C)
  • 720 x 576/50i (SMPTE259M-C)

Analog Audio Input and Output Formats
  • 48 kHz, 24-bit 2-channel

----------------------------------------------------------------------------------------